ภาพลักษณ์ของห้องน้ำที่สะอาด สวยงาม ทันสมัย จะช่วยสร้างความประทับใจให้กับแขกผู้มาเยือน ทำให้รู้สึกสบายใจเมื่อมาใช้งาน โดยหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ ที่จะช่วยสร้างภาพจำที่ดีนั้น คือ โถสุขภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายประเภทเลยทีเดียว
1. โถสุขภัณฑ์ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?
1.1 แบ่งตามการติดตั้ง
โถชักโครกแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ตามวิธีการติดตั้ง โดยแบบแรกจะเป็นแบบวางบนพื้น ที่พบเห็นกันโดยทั่วไป ซึ่งแบบนี้มีข้อดีคือ มีรูปแบบให้เลือกมากกว่า ราคาถูกกว่า ซ่อมแซมง่ายกว่า แต่ข้อเสียคือทำความสะอาดยาก และสะสมสิ่งสกปรกได้มากกว่า ในขณะที่โถปัสสาวะแบบติดผนังนั้น อาจจะซ่อมแซมยากกว่า แต่แน่นอนว่า สามารถรักษาความสะอาดได้ดีกว่า และดูทันสมัยกว่าแน่นอน
1.1 แบ่งตามระบบการชำระ
ไม่ว่าจะเป็นโถชักโครกแบบมือกด หรือโถฟลัชวาล์วอัตโนมัติ ก็จะมีระบบการชำระล้างภายในที่คล้ายคลึงกัน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระบบหลัก ตามรูปแบบการไหลเวียนของน้ำ
- ระบบ Wash Down จะใช้การปล่อยน้ำใหม่ ลงไปแทนที่น้ำเก่าในโถส้วม
- ระบบ Siphonic Wash Down ใช้การไหลเวียนแบบกาลักน้ำ ทำให้ดูดสิ่งสกปรกได้ดียิ่งขึ้น
- ระบบ Siphon Jet มีการเพิ่มหัวฉีดเข้าไปในขอบของคอห่าน จึงเพิ่มประสิทธิภาพในการชำระล้างให้สูงขึ้น
- ระบบ Siphon Vortex เป็นระบบที่ดีที่สุด โดยจะใช้การทำงานแบบน้ำวน
1.2 แบ่งตามการจ่ายน้ำ
แบ่งออกเป็นสุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์ว กับสุขภัณฑ์แบบฟลัชแท็งก์ โดยโถแบบฟลัชวาล์ว ทั้งแบบเซนเซอร์และแบบกด จะทำงานด้วยแรงดันน้ำที่ต่อตรงจากท่อประปา จึงสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องอาศัยถังพักน้ำ ส่วนโถแบบฟลัชแท็งก์ หรือโถปัสสาวะแบบที่มีถังพักน้ำ เป็นแบบที่นิยมตามบ้านเรือนทั่วไป มีทั้งแบบชิ้นเดียวและแบบสองชิ้น
2. รู้จักส่วนประกอบเบื้องต้น และหน้าที่ของแต่ละชิ้นส่วน ในโถสุขภัณฑ์
จะเห็นว่า โถชักโครกมีอยู่หลากหลายประเภท ซึ่งนั่นทำให้ส่วนประกอบภายในมีความหลากหลายตามไปด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีชิ้นส่วนหลัก ที่คล้ายกันดังนี้
2.1 ถังชักโครก ⏐ Toilet Tank
ถังชักโครกหรือถังพักน้ำ คือองค์ประกอบสำคัญของโถชักโครกทั่วไป เพราะนอกจากจะใช้กักเก็บน้ำแล้ว กลไกทั้งหมดยังถูกเก็บอยู่ในนี้ด้วย แต่ถ้าเป็นสุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์ว จะไม่จำเป็นต้องใช้ถังพักนี้
2.2 มือกด ⏐ Handle
มือกดคือจุดเริ่มต้นของการทำงานทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อกับแขนโลหะภายใน (Handle Arm, Trip Lever) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นวาล์วควบคุมการไหลของน้ำ แต่ถ้าเป็นโถแบบเซนเซอร์ จะไม่มีมือกด เพราะใช้เป็นระบบอัตโนมัติแทน
2.3 วาล์วน้ำเข้า ⏐ Fill Valve (Ballcock)
วาล์ควบคุมการไหลเข้าของน้ำ เชื่อมต่อโดยตรงมาจากท่อน้ำเข้า ทำให้มีน้ำเต็มถังชักโครกตลอดเวลา
2.4 ลูกลอย ⏐ Float
เป็นชิ้นส่วนรูปทรงกลม มักทำจากพลาสติก โดยจะลอยอยู่เหนือผิวน้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่กำหนดปริมาณน้ำในถังชักโครก
2.5 ชุดฟลัชวาล์วชักโครก⏐ Flush Valve
2.5.1 ท่อน้ำล้น ⏐ Overflow Tube
เป็นตัวช่วยความปลอดภัย ที่คอยป้องกันไม่ให้น้ำล้นถังพัก ในกรณีที่กลไกภายในทำงานผิดปกติ โดยโถฟลัชวาล์วอัตโนมัติ จะมีกลไกที่ทำงานคล้ายกัน แต่ไม่ได้เป็นท่อลักษณะนี้
2.5.2 ลิ้นชักโครก ⏐ Flapper
เป็นแผ่นยางที่ควบคุมการไหลของน้ำ จากถังชักโครกลงโถส้วม โดยจะทำงานเมื่อมือกดถูกกด และโซ่เปิดปิดวาล์วถูกดึงขึ้น
2.5.3 โซ่เปิดปิดวาล์ว ⏐ Chain
เป็นโซ่ที่เชื่อมต่อระหว่างแขนของมือกด กับลิ้นชักโครก โดยจะคอยดึงให้ลิ้นชักโครกเปิดค้างให้นานเพียงพอ เพื่อให้น้ำทำความสะอาดโถส้วมได้อย่างสะอาดหมดจด
2.6 โถส้วม ⏐ Toilet Bowl
ชิ้นส่วนสำคัญที่ทั้งโถแบบกดมือ และโถที่ติดตั้งชุดฟลัชวาล์วชักโครกต้องมี เพราะเป็นที่รองนั่งขณะทำธุระ โดยส่วนปลายจะต่อกับท่อน้ำทิ้ง และภายในจะต้องมีน้ำขังตลอดเวลา
2.7 ยางซีลโถ ⏐ Tank O-Ring Seal
ยางวงกลม (O-Ring) ที่ซีลระหว่างรอยต่อของก้นถังชักโครก กับส่วนบนของโถส้วม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำรั่วซึม
2.8 อุปกรณ์ยึดพื้น ⏐ Floor Flange
เป็นวัสดุที่ทำจากเหล็กหรือพลาสติก ซึ่งจะเชื่อมต่อท่อจากโถสุขภัณฑ์กับท่อน้ำทิ้ง ให้พอดีกันแบบไม่มีช่องว่าง เพื่อป้องกันการรั่วซึม และกลิ่นไม่พึงประสงค์
2.9 ท่อน้ำเข้า ⏐ Water Supply Line
ท่อน้ำเข้าถังชักโครก ที่ต่อตรงจากท่อประปาของอาคาร ซึ่งหากเป็นชุดฟลัชวาล์วชักโครก จะไม่จำเป็นต้องใช้ท่อนี้
3. สุขภัณฑ์แบบฟลัชวาล์ว จากเพียว เซิร์ฟ ทันสมัย ทนทาน น่าใช้งาน
ถึงแม้โถชักโครกจะมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โถฟลัชวาล์วแบบอัตโนมัติ ทั้งแบบโถชักโครก และโถปัสสาวะชายแบบอัตโนมัติ เป็นโถที่น่าใช้งานที่สุดอันดับหนึ่ง เพราะนอกจากช่วยประหยัดพื้นที่ มีชิ้นส่วนน้อยกว่า และเกิดปัญหาน้อยกว่าแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ความทันสมัยอีกด้วย อย่างโถปัสสาวะชายแบบเซนเซอร์จาก PURE SERV ที่มีให้เลือกทั้งแบบแขวนผนังและตั้งพื้น ทำงานร่วมกับฟลัชวาล์วอัตโนมัติได้อย่างลงตัว เหมาะกับทั้งการใช้งานในห้องน้ำสาธารณะ และห้องน้ำส่วนตัว
4. สรุป
ส่วนประกอบหลักของโถสุขภัณฑ์ส่วนใหญ่ ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ยกเว้นโถแบบฟลัชวาล์ว ที่จะแตกต่างอย่างชัดเจน โดยจะมีชิ้นส่วนน้อยกว่า และไม่มีถังพักน้ำ โดยกลไกสำคัญจะมีเพียงฟลัชวาล์วเท่านั้น
บทความแนะนำ
แชร์ความรู้ ชักโครกแบบฟลัชวาล์วดีไหม? แนะนำแบบไหนใช้งานง่ายที่สุด บทความนี้มีคำตอบ