ผ้าอนามัยของใช้ส่วนตัวสตรีที่ต้องมีติดตัวทุกเดือนกับเคล็ดลับการเลือกผ้าอนามัยอย่างไรให้สวมใส่สบายหมดความกังวลใจให้รู้สึกพร้อมทำงานแม้ในวันมามาก พร้อมเผยถึงปัญหาการทิ้งผ้าอนามัยที่ต้องพบเจอและเลือกถังขยะใส่ผ้าอนามัยแบบไหนดีเพื่อความปลอดภัยและไม่มีกลิ่นรบกวน รวมถึงไขข้อสงสัยถึงการใช้ยาลดปวดประจำเดือนดีจริงไหม
1. เคล็ดลับการเลือกผ้าอนามัย
ในวันมามากกับปัญหากังวลใจของสาว ๆ เมื่อต้องเดินทางออกไปด้านนอก หรือไปทำงานทำให้ไม่มั่นใจกลัวมีคราบเลอะระหว่างวัน หรือรู้สึกไม่สบายตัว การเลือกผ้าอนามัยให้เหมาะสมกับการใช้งานจึงเป็นสิ่งสำคัญกับ 5 ข้อควรพิจารณาเมื่อต้องเลือกผ้าอนามัย
- เลือกห่อบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุใหม่ ปิดสนิท ไม่มีรอยฉีกขาด รอยเปื้อน หรือมีกลิ่นอับเพราะผ้าอนามัยที่ใช้ควรจะต้องสะอาดและไม่มีการปนเปื้อนแต่อย่างใดเนื่องจากบริเวณที่สวมใส่นั้นมีความบอบบางและติดเชื้อได้ง่าย
- เลือกขนาด แบบและความหนาต่อการใช้งานให้เหมาะกับปริมาณประจำเดือน โดยเฉพาะคนที่มีปริมาณประจำเดือนค่อนข้างเยอะและมามากเป็นประจำควรเลือกใช้ผ้าอนามัยแผ่นยาวที่มีความหนารองรับการซึมซับได้ดี
- แกะใช้แล้วควรเก็บให้มิดชิดในที่แห้งและไม่ควรใช้ผ้าอนามัยที่มีการเปิดห่อทิ้งไว้นาน ๆ เนื่องจากอาจจะชื้นได้
- เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง หรือขึ้นอยู่กับปริมาณประจำเดือน หากมาเยอะให้เพิ่มความถี่ในการเปลี่ยนให้บ่อยขึ้นและไม่ควรใส่ผ้าอนามัยชิ้นเดิมนานเกิน 8 ชั่วโมงเพื่อความสะอาดและปลอดภัย
- หากมีอาการผิดปกติ เช่นอาการคัน แสบ ระคายเคืองแสดงว่าแพ้ผ้าอนามัยควรเปลี่ยนยี่ห้อ หรือหันไปใช้แบบอื่น ๆ ทันที
เพื่อสุขภาพที่ดีจึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยที่บรรจุใหม่ โดยเลือกแบบ ขนาด ความหนาที่เหมาะสมกับปริมาณประจำเดือน ใช้แล้วก็ควรเก็บให้มิดชิดในที่แห้งและไม่ควรใช้ในห่อที่เปิดทิ้งไว้นานเพราะอาจมีความชื้น ที่สำคัญหากมีอาการผิดปกติให้เปลี่ยนไปใช้แบบ หรือยี่ห้ออื่นทันที
2. ปัญหาการทิ้งผ้าอนามัยที่ต้องพบเจอ
ผ้าอนามัยของใช้สุดจำเป็นของผู้หญิงที่เป็นหนึ่งในปัญหาหนักใจของโลกเช่นเดียวเนื่องจากเป็นขยะที่ย่อยสลายยากที่มีส่วนผสมของพลาสติกซึ่งจะอยากไปรีไซเคิลเหมือนขยะอื่น ๆ ไม่ได้ ส่วนจะไปเผาก็ไม่ได้เช่นเดียวกันเนื่องจากมีความชื้นสูง มีวิธีทิ้งผ้าอนามัยใช้แล้วที่ไม่ดี เช่นนำไปทิ้งในลงในท่อ ไม่แยกถังขยะใส่ผ้าอนามัยโดยเฉพาะทำให้กลายเป็นปัญหาขยะที่กระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม
วิธีการจัดเก็บผ้าอนามัยให้ถูกวิธี
- ใช้ทิชชู: โดยการนำผ้าอนามัยวางตรงกลางกระดาษทิชชูที่วางไว้ จากนั้นพับข้างกระดาษเข้ามาตรงกลาง แล้วม้วนกระดาษจะด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งเพื่อให้แปะเทปกาว ใส่ในซองกระดาษผ้าอนามัยที่เราจะใช้ต่อไป หรือห่อด้วยกระดาษอีก 1 ชั้น
- ใช้กระดาษ: นำผ้าอนามัยมาวางตรงกลางแล้วม้วนด้วยกระดาษซึ่งพับตามความถนัดเพื่อปิดแต่ละด้านให้สนิทแล้วอาจติดด้วยเทปกาวก่อนทิ้ง
- ใช้ถุงเก็บแยก: บางที่จะมีถุงสำหรับใส่ผ้าอนามัยโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถนำผ้าอนามัยที่ห่อกระดาษทิชชู หรือกระดาษ นำมาใส่ในถุงก่อนทิ้งลงถังขยะใส่ผ้าอนามัย
3. เลือกถังขยะแบบไหนดี
ต่อมาเป็นวิธีทิ้งผ้าอนามัยใช้แล้วลงในถังขยะใส่ผ้าอนามัยซึ่งควรเป็นถังขยะแบบไหนดี?
ขยะที่เหมาะสำหรับทิ้งผ้าอนามัย คือ ถังขยะใส่ผ้าอนามัย Pure serv ที่ทำมาจากวัสดุพลาสติก ติดตั้งง่าย ใช้งานสะดวก แข็งแรง ทนน้ำกระเด็นใส่ซึ่งภายในสามารถบรรจุถังขยะได้ถึง 18 ลิตรด้วยการออกแบบมาที่มีฝาปิดมิดชิดซึ่งเหมาะในการนำไปใช้ได้ทั้งโรงเรียน ร้านอาหาร โรงพยาบาล โรงงานและสถานที่สาธารณะต่าง ๆ เพื่อลดการปนเปื้อนและถือเป็นการแยกขยะที่ถูกวิธี ง่ายต่อการนำไปกำจัด
4. ใช้ยาลดอาการปวดประจำเดือนดีจริงไหม
ทราบถึงปัญหาการทิ้งผ้าอนามัย พร้อมวิธีทิ้งผ้าอนามัยใช้แล้วและเคล็ดลับการเลือกถังขยะแบบไหนดีกันไปแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่อยากแนะนำสาว ๆ คือการใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือนว่าควรใช้อย่างไรถึงจะปลอดภัย โดยยาแก้ปวดชนิดที่นิยมอย่าง “พอนสแตน” เป็นยาแก้ปวดที่ช่วยบรรเทาอาการแก้ปวดจากการปวดท้องประจำเดือน โดยควรทานในปริมาณที่ถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
สำหรับผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไปควรรับประทานขนาด 500 มิลลิกรัม ในครั้งถัดไปทานครั้งละ 250 มิลลิกรัมทุก ๆ 6 ชั่วโมงเมื่อเริ่มมีอาการปวด แต่ถ้าหายแล้วไม่ควรทานยาซ้ำอีกและไม่ควรทานติดต่อทานยานานติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือเพิ่มขนาดยาเองเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จึงควรใช้ยาตามที่ระบุข้างกล่องอย่างเคร่งครัด
ถังขยะใส่ผ้าอนามัย เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่งในปัจจุบันเพื่อช่วยลดปัญหาการจัดการขยะที่ไม่ดี มีความปลอดภัย ไม่ปนเปื้อนกับขยะอื่น ๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ควรคู่ไปด้วยกันคือพฤติกรรมในการทิ้งผ้าอนามัยที่ควรห่อปิดมิดชิดด้วยกระดาษและใส่ถุงทิ้งลงในถังทุกครั้งเพื่อไม่สร้างความลำบากใจให้คนที่ต้องมาพบเจอ รวมไปถึงการเลือกใช้ผ้าอนามัยให้เหมาะสมกับปริมาณประจำเดือนและควรเปลี่ยนบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมม หรือการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากใช้ผ้าอนามัยแผ่นเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่วนในสตรีที่มีอาการปวดท้องประจำเดือนก็ควรรับประทานยาแก้ปวดในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำ เพียงเท่านี้ ปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องพบเจอก็จะลดลง